น้ำปลามีต้นกำเนิดมาจากกระบวนการหมักปลากับเกลือ ซึ่งเป็นวิธีถนอมอาหารที่มีมานานนับพันปี เชื่อกันว่าน้ำปลามีต้นกำเนิดจากจีนโบราณ ก่อนจะแพร่หลายไปยังภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะในประเทศไทยและเวียดนามซึ่งมีการผลิตและใช้น้ำปลาอย่างแพร่หลาย ด้วยรสเค็มกลมกล่อมอันเป็นเอกลักษณ์และกลิ่นหอมเฉพาะตัวที่ช่วยชูรสชาติอาหารให้อร่อยยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอาหารไทย เวียดนาม กัมพูชา หรือฟิลิปปินส์ ต่างก็ใช้น้ำปลาเป็นส่วนผสมหลักในเมนูอาหารประจำชาติ ด้วยกรรมวิธีการหมักปลากับเกลือจนได้น้ำปลาคุณภาพดีที่ให้รสชาติกลมกล่อม ทำให้น้ำปลากลายเป็นส่วนสำคัญของวัฒนธรรมการกินในของผู้บริโภคในโซนเอเชีย และเริ่มแพร่หลายไปยังเมนูอาหารชาติตะวันตกในปัจจุบัน
ต้นกำเนิดของน้ำปลา
น้ำปลามีจุดกำเนิดเก่าแก่ที่สามารถสืบย้อนกลับไปถึงชาวกรีกและโรมันโบราณ ซึ่งผลิตซอสหมักจากปลา เช่น การอส (Garros) และ การุม (Garum) โดยมีหลักฐานพบในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน อย่างไรก็ตาม ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็มีแหล่งทรัพยากรที่เหมาะสมกับการผลิตน้ำปลา ทำให้เกิดข้อสันนิษฐานว่าน้ำปลาอาจถูกพัฒนาขึ้นอย่างอิสระในแต่ละภูมิภาคเนื่องจากต้องการถนอมอาหาร และแปรรูปให้สามารถเก็บรักษาให้นานขึ้น ซึ่งในโซนเอเชียก็จะมีบันทึกเกี่ยวกับต้นกำเนิดของน้ำปลาแตกต่างกัน อาทิ ประเทศจีนมีบันทึกเกี่ยวกับซอสปลาตั้งแต่ยุคราชวงศ์โจว แต่ภายหลังนิยมใช้ซอสถั่วเหลืองแทน ขณะที่ประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น เกาหลีและญี่ปุ่น มีน้ำปลาที่ใช้ส่วนผสมจากถั่วเหลืองและปลา ส่วนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ไทย เวียดนาม และฟิลิปปินส์ นิยมใช้น้ำปลาที่ทำจากปลาหมักโดยตรง
ความนิยมของน้ำปลาในโซนเอเชีย
น้ำปลาได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากเป็นเครื่องปรุงที่ให้รสชาติเข้มข้นและช่วยดึงความอร่อยของอาหารออกมาได้อย่างลงตัว ไม่ว่าจะเป็นต้ม ผัด แกง ทอด หรือยำ อาหารไทยอย่าง “ส้มตำ” และ “น้ำพริก” ก็มักใช้น้ำปลาเป็นส่วนประกอบหลัก ในแต่ละประเทศจะมีกรรมวิธีการผลิตและชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามวัฒนธรรมและวัตถุดิบที่ใช้ มีเอกลักษณ์และชื่อเรียกเฉพาะตัว ดังนี้
- ไทย: เรียกว่าน้ำปลา (Nam Pla) ผลิตจากปลากะตักหมักกับเกลือ 12-18 เดือน มีรสเค็มกลมกล่อม กลิ่นหอมจากการหมักตามธรรมชาติ
- เวียดนาม: เรียกว่าเนื้อกหมัม (nước mắm) ผลิตจากปลากะตักหมักกับเกลือ 12-24 เดือน มีหลายระดับความเข้มข้น นิยมใช้เป็นซอสจิ้มหรือปรุงอาหาร
- ฟิลิปปินส์: เรียกว่าปาตี(Patis) ผลิตจากปลาทะเลหมักกับเกลือ เป็นผลพลอยได้จากการทำกะปิ (Bagoong) มีรสเค็มจัด กลิ่นแรง มักใช้เป็นซอสปรุงรส
- จีน: เรียกว่ายวีลู่ (yúlù) ผลิตจากปลาหมัก หรือกระดูกปลาและไขมันปลา 6-12 เดือน มีกลิ่นแรงกว่าน้ำปลาไทย มักใช้ในอาหารจีนตอนใต้ เช่น กวางตุ้ง และฝูเจี้ยน
- เกาหลี: เรียกว่าแอกจ็อด(Aekjeot) ผลิตจากปลากะตัก ปลาหมึก หรือกุ้งหมักกับเกลือ 6-12 เดือน มีรสเค็มน้อยกว่าน้ำปลาไทย ใช้หมักกิมจิ หรือเป็นน้ำจิ้ม
- ญี่ปุ่น: เรียกว่า gyoshō หรือ uoshōyu ที่แปลว่า ‘ซีอิ๊วปลา’ ผลิตจากปลาซาร์ดีน ปลาหมึก หรือปลาโอแห้งหมักกับเกลือ12 เดือนขึ้นไป รสชาติออกหวานและเข้มข้น ใช้ในราเมนหรืออาหารญี่ปุ่นบางชนิด
น้ำปลาตราปลาหมึก ตำนานความอร่อยคู่ครัวไทยมากว่า 80 ปี
น้ำปลาแท้ตราปลาหมึกเป็นหนึ่งในแบรนด์น้ำปลาชั้นนำของไทยที่มีประวัติยาวนานกว่า 80 ปี โดดเด่นด้วยคุณภาพและรสชาติที่คงความเป็นน้ำปลาแท้จากการหมักปลาทะเลสดกับเกลือโดยใช้กระบวนการธรรมชาติยาวนานถึง 18 เดือน ทำให้น้ำปลาได้รสชาติเข้มข้นและกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์ จนได้รับความไว้วางใจจากทั้งครัวเรือนไทยและครัวโลก
น้ำปลาตราปลาหมึกผลิตจากวัตถุดิบคุณภาพสูงโดยใช้ปลากะตักสดที่ผ่านการคัดสรรอย่างพิถีพิถัน นำมาหมักกับเกลือบริสุทธิ์ในสัดส่วนที่เหมาะสม ในโรงหมักที่ควบคุมอุณหภูมิและความชื้นเพื่อให้เกิดกระบวนการหมักตามธรรมชาติ ซึ่งใช้ระยะเวลาหลายเดือน จนได้” น้ำปลาสีทองอำพัน ” ที่ให้รสชาติกลมกล่อมและกลิ่นหอมน่ารับประทาน การผลิตทุกขั้นตอนถูกควบคุมคุณภาพอย่างเข้มงวด ทำให้น้ำปลาแท้ตราปลาหมึก เป็นตัวเลือกอันดับหนึ่งของผู้ที่ต้องการน้ำปลาแท้คุณภาพสูงสำหรับการปรุงอาหารไทยและนานาชาติเพื่อให้ได้รสชาติอาหารที่อร่อยกลมกล่อมยิ่งขึ้น